Category: Japanese
Happy New Year 2022 あけましておめでとうございます
สวัสดีทุกคนที่แวะเข้ามาในโรงเรียนเด็กวัดปรียา สวัสดีปีใหม่ 2022 รุ่งอรุณปีใหม่นี้ ไม่เพียงแต่พระอาทิตย์จะออกมาทักทาย ให้ความหวัง ให้แสงสว่างแก่เราในวันปีใหม่ เมื่อวานก่อน ด้วยพลังแห่งความสวยงามของดอกไม้ที่เปล่งประกายความสวยงาม และความสดชื่นให้ทุกครั้งที่ได้ยลโฉมของดอกไม้ในสวน เช้าวันปีใหม่นี้ ขอส่งภาพดอกไม้หลากหลายชนิดจากสวนดอกไม้ของเรา เมื่อวานก่อนปีใหม่ได้ไปใช้เวลาเก็บเอาความสวยงามของดอกไม้แต่ละดอก ที่ต่างก็มีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ของมันในสวน เพื่อนำเอาความสวยงาม อ่อนช้อย ความมีเสน่ห์ ความอ่อนหวาน ความเข้มแข้ง และความแกร่งของแต่ละดอก มาจัดดอกไม้เพื่อส่งความสุข ปีใหม่ 2022 แก่เพื่อนๆทุกคนและเพื่อนร่วมโลกทุกคน อย่างน้อยได้แต่หวังและภาวนา และจะได้เป็นนิมิตรที่ดีที่ว่าในปีใหม่ 2022 […]
Ikigai ของคนญี่ปุ่น–ปูชนียบุคคลของญี่ปุ่น (1)
สวัสดีเพื่อนๆทุกคน วันนี้เป็น วัน ‘สุข’ มีความสุขกับการนั่งขีดเขียน เก็บ กักตัวเองอย่างเต็มใจเพื่อ ตัวเอง เพื่อสังคม และชาติของเราเอง บทความที่จะอ่านกันนี้ เขียนเมื่อ 6-06-2017 ในเว็บไซด์ของ วินทร์ เลี้ยววารินทร์ ศิลปินแห่งชาติสองสมัย มาแล้ว เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2017 มีโอกาสแวะเข้าไปคุยกับคุณวินทร์ ในหัวข้อ “แวะเข้ามาคุย” สืบเนื่องจากการอ่าน เหตุผลที่ตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ที่คุณ วินทร์ เขียนไว้น่าสนใจมาก […]
กวีชื่อดัง มะทซึโอะ บะโช 芭蕉松尾 (2)
บะโชอาศัยอยู่ในกระท่อมนี้คนเดียว ยามที่ไม่มีแขก หรือยามที่ไม่มีใครไปเยี่ยม เขาจะนั่งมองต้นกล้วยที่สูงโด่เด่อยู่หน้ากระท่อมของเขาอย่างเงียบๆ และนั่งทอดอารมณ์กับเสียงลมพัดที่พัดมากระทบใบของต้นกล้วย บรรยากาศแห่งความเงียบ และความเหงาจะทวีคูณมากขึ้นในคืนที่ฝนตก เสียงฝนตกที่ตกลงมากระทบหลังคากระท่อมที่รั่ว เสียงน้ำฝนที่หยดเป็นช่วงๆอย่างไม่ต่อเนื่อง ลงมาในอ่างใบเล็กที่เขาวางไว้รองรับน้ำฝนบนพื้น คงเป็นเสียงเดียวที่เป็นเสมือนเพื่อนของเขาในยามค่ำคืนที่ฝนตก เสียงน้ำฝนที่หยดดังติ๋ง ติ๋ง หยดลงมาทีละหยดสองหยดอย่างไม่ต่อเนื่อง ลงในอ่างใบเล็ก สำหรับโสตประสาทการรับเสียงของกวีผู้ซึ่งนั่งฟังเสียงอย่างเงียบคนเดียวในกระท่อม ท่ามกลางแสงไฟริบหรี่จากตะเกียงในห้องแคบๆเล็กๆ เสียงน้ำฝนจากหลังคาที่รั่วที่หยดลงลงมากระทบกับอ่างใบเล็กที่วางอยู่บนพื้นในคืนฝนอย่างเช่นคืนนี้ เสียงของน้ำฝนแต่ละหยดที่หล่นลงมากระทบอ่างใบเล็กคงไม่ต่างอะไรกับเสียงประสานที่เข้ากันได้อย่างดีกับเสียงดังจากลมที่พัด ทำให้ได้ยินเสียงดังของใบต้นกล้วยที่ยืนโด่ต้านเสียงลมที่พัดมาอย่างแรงจากทะเลข้างนอกกระท่อม ท่ามกลางสายฝน และเสียงน้ำฝนที่หยดผ่านลงมาจากหลังคารั่วของกระท่อม สำหรับกวีเอกอย่างบะโช คงไม่ใช่เสียงที่ก่อความน่ารำคาญแก่หูของเขาเช่นคนทั่วไป แต่กลับก่อเกิดเป็นบทกวี ที่เข้ากับบรรยากาศในคืนนั้น และขณะนั้นได้อย่างดีเยี่ยม ———— บะโชนั่งฟังเสียงฝน จากหลังคารั่ว ในกระท่อมที่เงียบเหงา […]
หนังสือ ภาพริมสระน้ำ (ตอนจบ)
ตอนดึก หลังจากที่ลูกนอนหลับไปแล้ว สามีเธอดื่มวิสกี้ไปพลางเล่าเรื่องให้เธอฟังว่า ในตึกของบริษัทที่ทำงานอยู่นั้น ข้างๆลิฟต์ของแต่ละชั้นจะมีช่องให้ส่งจดหมายช่องว่างที่ว่านี้ มีลักษณะเป็นช่องว่างสี่เหลี่ยมยาวจากชั้นหนึ่งจนถึงชั้นเก้า ส่วนที่หันเข้าหาทางเดินนั้น จะทำทะลุลงมาให้เห็นจดหมายที่หล่นลงมาได้จากข้างนอก ครั้งก่อนตอนที่เดินผ่านตรงนั้น ผมจะเห็นซองสีขาวหล่นลงมา จดหมายจะหล่นลงมาถึงพื้นโดยผ่านช่องว่างระหว่างเพดานและทางเดินโดยไม่เกิดเสียง บางครั้งผมจะเห็นจดหมายหล่นติดต่อกันลงมา และหล่นเลยช่องว่างไปก็มี ทางเดินของตึกนี้ จะมืดเป็นพิเศษ เวลาที่ไม่มีใครอยู่แถวนั้น อยู่ดีๆจะเห็นอะไรขาวๆหล่นลงมา ผมจะใจหายวูบ จะบอกว่าความรู้สึกที่ว่านั้นเป็นยังไงดีนะ มันไม่ต่างอะไรกับวิญญาณที่เหงาหงอยยังไงชอบกล พอผมเดินห่างจากทางเดินไปเพียงก้าวเดียว ผมจะเห็นโลกมนุษย์ของเรา ที่เราจะประมาทหรือพลั้งเผลอไม่ได้แม้แต่น้อย ไม่ว่าห้องไหนจะเห็นคนแน่นเอี๊ยดไปหมด ถ้าผมหลุดจากห้องนั้น เพื่อไปห้องน้ำคนเดียว ในระหว่างเดินกลับไปที่ห้อง จะเกิดความรู้สึกเหมือนที่ผมว่านี้ ตอนเช้ามีบางครั้งที่ผมต้องไปบริษัทเช้ากว่าปกติด้วยเรื่องงาน ผมมองไปรอบๆห้องทำงานที่ยังไม่มีใครมา […]
หนังสือ ภาพริมสระน้ำ 1
ภาพริมสระน้ำ ในสระว่ายน้ำนักกีฬาว่ายน้ำกำลังพุ่งโถมตัวอย่างสุดแรง รอบสุดท้ายของการแข่งขัน เพื่อเข้าสู่หลักชัย ร่างนักกีฬาว่ายน้ำหญิงผิวสีแทนกระโจนลงในสระน้ำคนแล้วคนเล่า ตามด้วยเสียงไล่หลังของโค้ช นักกีฬาว่ายน้ำหญิงคนหนึ่ง พอเธอปีนขึ้นมาถึงแท่นสตาร์ท อยู่ดีดีหัวเธอทิ่มลงในสระน้ำ แผ่นหลังกระแทกกับผิวน้ำ ท่าทางอาการคงหนักเอาการ เพราะเธอหายใจไม่ออก ในขณะเดียวกัน ก็มีรถไฟขบวนหนึ่งค่อยๆวิ่งอ้อมผ่านอีกด้านหนึ่งของสระว่ายน้ำ ผู้โดยสารที่กำลังยืนจับราวกันอยู่ในรถไฟก็คือ พนักงานกินเงินเดือน หรือที่เรียกว่า ‘ซะระริมัง’ ในภาษาญี่ปุ่นที่กำลังจะเดินทางกลับบ้านหลังเลิกงาน สายตาของพวกพนักงานที่อยู่ในรถไฟ มองข้ามตัวโรงเรียนไป จะเห็นภาพของพวกนักกีฬาว่ายน้ำหญิงบนพื้นคอนกรีต และภาพสีฟ้าอ่อนของน้ำที่มีอยู่เต็มสระน้ำที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆโดยไม่ได้ตั้งใจ ภาพที่ว่านี้อาจจะช่วยปลอบประโลมจิตใจของพวกคนงานที่เหนื่อยล้าจนแทบจะหมดเรี่ยวแรง เพราะความร้อนของอากาศ หน้าร้อน ตลอดจนความยากลำบากนานัปการที่พวกเขาแบกรับอยู่ ได้ชั่วครู่ชั่วยามก็ว่าได้ มีชายรูปร่างสูงคนหนึ่งกำลังยืนดู […]
大蒜 นินนิคุ หรือ กระเทียม (ตอนจบ)
กระเทียมอยู่ยงคงกระพันไม่ว่าร้อนหรือหนาว ทั่วโลกมีกระเทียมอยู่ประมาณ 50 ชนิด โดยที่แบ่งกระเทียมออกได้เป็น2 พันธุ์ คือ พันธุ์ที่ปลูกในแถบหนาวและพันธุ์ที่ปลูกในแถบร้อนสำหรับในญี่ปุ่นถือว่าแถบคันโต(โตเกียว) และทางเหนือเป็นเขตที่อยู่ในเขตหนาว ส่วนทางใต้จะปลูกกระเทียมประเภทเขตอบอุ่น หรือเขตร้อน สำหรับกระเทียมพันธุ์ที่ปลูกในเขตหนาวจะปลูกไม่ได้ผลดีในเขตอบอุ่น ในทำนองเดียว กันกระเทียมพันธุ์ที่ปลูกในเขตอบอุ่นก็จะปลูกไม่ได้ผลดีในเขตหนาว จังหวัดที่ผลิตกระเทียมได้จำนวนมากคือ แถบจังหวัดทางภาคเหนือของญี่ปุ่นซึ่งได้แก่ จังหวัด อะโอะโมะริซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิตกระเทียมได้มากเป็นอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น กระเทียมที่ ผลิตมีจำนวนสูงถึง 70% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าทึ่งอย่างยิ่ง ทั้งๆที่กระเทียมที่ปลูกในแถบหนาวได้รับความเสียหายจากความหนาวของอากาศ และมีลม หนาวเย็นซึ่งพัดไปยังแถบเขตหนาวที่ปลูกกระเทียม แต่ผลกลับเป็นว่าแถบเขตหนาวกลับเอา ชนะอุปสรรคเรื่องลมหนาว และนำความหนาวเย็นมาใช้เป็นประโยชน์ แถมยังปลูกกระเทียมได้ ผลดี กระเทียมที่ปลูกในฤดูใบไม้ร่วงและทนกับดินฟ้าอากาศที่หนาวจัดได้เป็นกระเทียมที่สะสมธาตุ อาหารที่มีประโยชน์ไว้ได้อย่างมาก นอกจากนั้นกระเทียมที่ถูกลมหนาวเย็นพัดอยู่เป็นประจำและ ค่อยๆเจริญเติบโตขึ้น กลับเป็นกระเทียมที่ปลูกได้รสชาติดี จากการที่กระเทียมมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากนี้เอง ทำให้กระเทียมเป็นวัตถุดิบที่คน ทั่วโลกนำไปใช้ประกอบอาหาร พลังที่คนกินได้จากกระเทียมที่แท้จริงก็คือ กลิ่นที่มีลักษณะพิเศษ ของกระเทียมนั่นเอง จากกลิ่นที่ฉุนของกระเทียมนี้เองทำให้คนญี่ปุ่นไม่นิยมใช้กระเทียมมาเป็น […]
大蒜 นินนิคุ หรือ กระเทียม 1
大蒜 นินนิคุ หรือ กระเทียม ความเหนียวและความทนทานของกระเทียม ตัวอักษรคันจิปัจจุบันที่ใช้กับกระเทียม 大蒜 หรือ นินนิคุ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นเครื่องปรุงอาหารเช่นเดียวกับขิง ในสมัยก่อนจะเขียนด้วยตัวอักษรคันจิ 蒜 อ่านว่า ฮิรุ ปรากฎเป็นครั้งแรกในหนังสือประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ชื่อ ‘โคะจิคิ’*1 โดยบันทึก ไว้ว่า ลูกชายของจักรพรรดิ์ ยะมะโตะทะเคะรุใช้กลิ่นกระเทียมล้มกวางที่ขวางทางได้สำเร็จ ทำให้รู้ว่าเมื่อ 1300 กว่าปีที่แล้ว กระเทียมเป็นที่รู้จักกันแล้วในญี่ปุ่น จากบันทึกพบว่าคำว่า นินนิคุ หรือ กระเทียมมีความหมายว่า ‘อดทนต่อความยากลำบากและอุปสรรคนานัปประการ’ ตลอดจนส่ิงที่อาจก่อให้เกิดความอับอายได้ในขณะที่บำเพ็ญภาวนา รากศัพท์ของกระเทียมที่ใช้ในศาสนาพุทธก็คือ 忍辱 นินนิคุ ซึ่งหมายถึง ‘อดทน ต่อความยากลำบากและความอับอายต่างๆ’ การที่ใช้กระเทียม ในความหมายที่ว่านี้ เพราะ กระเทียมมีกลิ่นแรงแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเสมือนยารักษาโรคที่มีประโยชน์ที่คนต้องทน ใช้แม้แต่เสาหินข้างๆทางเข้าประตูวัด เซนเดะระ จะเขียนประกาศไว้ว่า ‘คนที่กินเหล้าหรือกินอะไร ที่มีกลิ่นแรง ห้ามเหยียบเข้าธรณีวัด’ การที่เขียนประกาศไว้อย่างนั้นก็เพื่อเตือนให้คนรู้ว่าเมื่อเวลา ที่คนดื่มส่ิ่งมึนเมาเข้าไปในร่างกายความประพฤติของคนนั้นจะหละหลวม ส่วนเครื่องเทศ หรือ สิ่งที่ส่งกลิ่นฉุนแรงทุกชนิด รวมทั้งกระเทียมกลิ่นฉุนจะทำให้พระที่ฝึกบำเพ็ญภาวนาเสียสมาธิ คำสอนที่ว่านี้ซึมซับเข้าไปในจิตสำนึกของคนญี่ปุ่นเป็นเวลาช้านาน จากคำสอนนี้เองทำให้ คนญี่ปุ่นเลี่ยงไม่กิน หรือใช้ […]
“อนุทินรัก” สมัยเฮอังของญี่ปุ่น (1)
สวัสดีค่ะ ทุกคนที่แวะเข้ามาในโรงเรียนเด็กวัดปรียา หรือ เทะระโคะยะ เขียนโดย ปรียา อิงคาภิรมย์ ตามคำเรียกร้องของนักเรียน นักศึกษา และคนทั่วไปที่แวะเข้าไปเว็บเก่าของโรงเรียน Japaneseisfun.com ที่หายไปทั้งโรงเรียน มีนักศึกษาที่เรียนภาษาญี่ปุ่น และสนใจอยากเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรม และวรรณกรรมญี่ปุ่นจำนวนหลายหมื่นคน ตอนนี้ดิฉันพยายามสละเวลาเข้ามาเขียนและเอาเนื้อหาที่คิดว่ามีสาระ และความรู้มาใส่ในโรงเรียนเด็กวัดปรียา สำหรับคนที่สนใจ อยากแสวงหาความรู้เพิ่มเติม หรือ เกร็ดความรู้ทั่วไป บทความนี้ดิฉันเขียนเมื่อ เดือน เมษายนปี พ.ศ.2532( เพียงแค่ 30ปี ที่แล้ว!) […]
日本語学習体験:プリヤーさんの日本語とわたし この20年
日本語学習体験談 プリヤーさんの 日本語とわたし この 20 年 ครั้งแรกในชีวิตเมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้ว ที่ได้ยลโฉม ดอกซากุระ ในโตเกียว ดินแดนแห่งความฝันที่อยากไปเรียนต่อ タイのプリヤーさんは、大学に入って初めて日本語を学びました。そのときの日本語の印象はどうだったのでしょうか。文章はすべてご本人の書いたままです。 わたしから見た日本語とは何か わたしは高校までに学校では英語とフランス語を外国語として習ってきましたし、父の話す中国語の一方言である潮州語を耳から覚えて家で使っていはいましたが、それほど困難さを感じたことはありませんでした。アルファベットはフランス語に共通でしたし、潮州語は小さい時から生活の中で自然に覚えたものでした。ところが、日本語の場合は、それまで習った外国語と違って、アルファベットも使わず、日本独特の文字をつかい、それも、ひらがな、カタカナ、漢字という三種類の文字を同時に覚えなければならないので、まず、頭を抱えてしまいました。加えて、日本語は、タイ語、中国語あるいは英語とは文法構造については全然似ていないので、上達するのは容易なことではないという気持ちになりました。 たとえば、「わたしは ごはんをたべる」は、次のようになることがわかったのです。 S+O+V S +V+O 日本語 Japanese タイ語 Thai 中国語Chinese 英語 English わたしは ごはんを たべる。 ฉัน กิน ข้าว 我食飯 […]
บ้านที่มี ความสุข ความสงบสุข และมั่นคง
สวัสดีทุกคนที่แวะเข้ามาหลบมุม หาเวลาส่วนตัว จากความวุ่นวายในชีวิตประจำวัน แวะเข้ามาอ่านเรื่องต่างๆในโรงเรียนเด็กวัดปรียา วันนี้ ขอเอาตัวอักษรจีนง่ายๆ แต่มากด้วยความหมายมาให้เราได้ชื่นชมกัน tranquility บ้านใดมีผู้หญิงอยู่ในบ้าน บ้านนั้นจะสงบสุข มีความสุข และมั่นคง ผู้หญิง หรือสตรีเพศ เราอาจจะไม่รู้ว่า อันที่จริง เราเป็นเพศที่มีความสาคัญอย่างมากในบ้านที่เราอาศัยอยู่ตามค่านิยมของคนจีนในสมัยก่อน ที่สะท้อนได้จากความคิดของตัวอักษรคันจิที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในการสื่อความหมาย ผู้ชายไม่ว่าจะครองโสด หรือ แต่งงานแล้ว บางคนและบางครั้ง อาจจะมองข้ามความสำคัญของเพศหญิงในบ้าน และอาจจะไม่เห็นคุณค่าสำคัญของการที่มีเพศหญิงไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ พี่สาว และน้องสาวที่อาศัยร่วมกันในชายคาบ้านเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ รวมถึงคุณย่า คุณยาย […]