Category: Japan
comment on Japan and the Japanese language
好きです。You are in my heart
สวัสดีค่ะ ทุกคนที่แวะเข้ามาในโรงเรียนเด็กวัดปรียา วันนี้ขอแวะเข้ามาเล่าเรื่องคำสองคำที่ได้จากที่มีโพสให้อ่านกัน คำจีน สองคำนี้ คนญี่ปุ่นไม่นำมาใช้ในภาษาญี่ปุ่น แต่แค่ดูทีเดียวก็เข้าใจความหมายที่นักประพันธ์หญิงต้องการสื่อให้แก่หนุ่ม คือมีคน สองคน แล้วก็ หัวใจ อยู่ข้างล่าง ก็คือ ในคนหนึ่งคน มีหัวใจเดียว แต่ตัวคันจิหรือตัวอักษรจีนตัวนี้ มีตัวจีน ซึ่งคือ คน 人 หนึ่งคน และคนอีกหนึ่งคน 人 ข้างล่าง คือ 心 หัวใจ เพียงแค่เห็นก็เข้าใจว่า จดหมายรักเธอก็คือ ในหัวใจของคุณที่มีอีกคน […]
Ikebana จัดดอกไม้ญี่ปุ่น
ตามด้วย ดอกไม้ที่จัด เพื่อให้ทุกคนได้สดชื่น คลายเครียด และแจ่มใส เช่นเดียวกับดอกไม้ เหมือนเรายืนอ้าแขนบนยอดเขา แล้วสูดอากาศบริสุทธิ์
Ikigai ของญี่ปุ่น ปูชนียบุคคลของญี่ปุ่น (2)
ในมุมแคบ ความหมายของคำว่า iKigai อิคิ งะอิ 生き甲斐 คือ 1) การสร้างพลังกายและใจให้ตัวเองรู้สึกถึงความยินดี และความหมายของการมีเป้าหมายหรือมีจุดมุ่งหมายในชีวิต อีกนัยหนึ่งกือการสร้างยาคุมกันให้กำลังใจแก่จิตใจ อิคิ งะอิ 生き甲斐 เป็นสำนวนที่ใช้บ่อยมาก สำหรับคนญี่ปุ่ในระดับบุคคลในครอบครัว เช่น ถ้าถาม พ่อแม่บางคนว่า อิคิ งะอิ 生き甲斐 ของเขาคืออะไร แม่บางคน อาจจะตอบว่า อิคิ งะอิ 生き甲斐 ของเธอคือลูก เพราะเธอมีชีวิตอยู่เพื่อลูก […]
หมาฮะทซิ ผู้ซื่อสัตย Hachiko (1)
สวัสดีค่ะทุกคนที่แวะเข้ามาในโรงเรียนเด็กวัดปรียา ภาพรูปปั้นหมาหรือ ฮะทซิโค ที่สถานีรถไฟ ชิบะยุ ในกรุงโตเกียว วันนี้ ขอนำเรื่องราวประทับใจที่ดิฉันรู้ ตั้งแต่สมัยไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นให้อ่านกัน จงไปขุดเอาบทความเก่าๆที่เคยเขียนในเว็บเก่าหลายปีมาแล้วมาให้อ่านกัน เพราะวันก่อนเพิ่งจะมีโอกาสดู ดีวีดี ของหนังเรื่องนี้ หมาฮะทซิของญี่ปุ่น ซึ่งฉายไปหลายปีแล้ว แสดงโดย Robert Gere ชื่อ” Hachi: a Dog’s tale” ดูแล้วประทับใจมาก คล้ายๆกับหนังเรื่อง หมาชื่อ แลซซี่ ที่ดูได้ดูดี ไม่เคยเบื่อ เลยอดเอามาให้อ่านกันไม่ได้ คิดว่าส่วนใหญ่คนที่สนใจเรื่องญี่ปุ่นจะรู้เรื่องนี้ […]
生き甲斐 อิคิงะอิ คุณค่าของการมีชีวิต (1)
สวัสดีค่ะ ทุกคนที่แวะเข้ามาในโรงเรียนเด็กวัดปรียา ขอแวะเข้ามาทำการบ้านที่อยากจะแบ่งปัน เรื่อง 生き甲斐 หรือ อิคิงะอิ มี 4 พยางค์ ก่อนที่จะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ขอเขียนให้เข้าใจร่วมกัน กับที่มาที่ไปของ คำว่า生き甲斐 หรือ อิคิงะอิ ก่อน เพื่อจะได้เข้าใจง่ายขึ้น ที่คนส่งมาให้อ่าน คนไทยจะเขียนทับเป็นภาษาไทยว่า IKIGAI (อิคิไก) ขอเขียนให้คนไทยที่ไม่ได้เรียนหรือไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นทราบว่า ในภาษาญี่ปุ่น ไม่มีเสียง ที่ออกเสียงเป็น ก เหมือนในภาษาไทย และคำนี้ออกเสียงที่ถูกต้องคำนี้ จะมีทั้งหมด […]
大蒜 นินนิคุ หรือ กระเทียม 2
หนังสือ ‘ตำนานอาหารญี่ปุ่น’ เรื่องราวที่เขียน ไม่ใช่หนังสือทำอาหาร แต่เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับ ‘วัฒนธรรมการกินของญี่ปุ่น’ หรือที่เรียกว่า วัฒนธรรม ‘食文化’ หรือ โชะคุ บุงคะ (โชะคุ คือ การกิน บุงคะ คือ วัฒนธรรม) หนังสือเล่มนี้พิมพ์สี่สีเป็นเล่มแรกที่ทางสำนักพิมพ์ลงทุนพิมพ์ และได้รับค่าสปอนเซอร์ส่วนหนึ่ง ในการพิมพ์จาก โฆษณาปกหลังของ Thai Skylark Group หนังสือเล่มนี้ จึงเหลือเพียงสองเล่มที่เก็บไว้กับตัวเอง เพราะหนังสือแบบนี้ เพื่อนๆเห็น ขอฟรีไปเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะพิมพ์มาประมาณแปดปีกว่าแล้ว ไว้จะค่อยๆเอามาพิมพ์ให้อ่าน […]
大蒜 นินนิคุ หรือ กระเทียม 1
大蒜 นินนิคุ หรือ กระเทียม ความเหนียวและความทนทานของกระเทียม ตัวอักษรคันจิปัจจุบันที่ใช้กับกระเทียม 大蒜 หรือ นินนิคุ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นเครื่องปรุงอาหารเช่นเดียวกับขิง ในสมัยก่อนจะเขียนด้วยตัวอักษรคันจิ 蒜 อ่านว่า ฮิรุ ปรากฎเป็นครั้งแรกในหนังสือประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ชื่อ ‘โคะจิคิ’*1 โดยบันทึก ไว้ว่า ลูกชายของจักรพรรดิ์ ยะมะโตะทะเคะรุใช้กลิ่นกระเทียมล้มกวางที่ขวางทางได้สำเร็จ ทำให้รู้ว่าเมื่อ 1300 กว่าปีที่แล้ว กระเทียมเป็นที่รู้จักกันแล้วในญี่ปุ่น จากบันทึกพบว่าคำว่า นินนิคุ หรือ กระเทียมมีความหมายว่า ‘อดทนต่อความยากลำบากและอุปสรรคนานัปประการ’ ตลอดจนส่ิงที่อาจก่อให้เกิดความอับอายได้ในขณะที่บำเพ็ญภาวนา รากศัพท์ของกระเทียมที่ใช้ในศาสนาพุทธก็คือ 忍辱 นินนิคุ ซึ่งหมายถึง ‘อดทน ต่อความยากลำบากและความอับอายต่างๆ’ การที่ใช้กระเทียม ในความหมายที่ว่านี้ เพราะ กระเทียมมีกลิ่นแรงแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเสมือนยารักษาโรคที่มีประโยชน์ที่คนต้องทน ใช้แม้แต่เสาหินข้างๆทางเข้าประตูวัด เซนเดะระ จะเขียนประกาศไว้ว่า ‘คนที่กินเหล้าหรือกินอะไร ที่มีกลิ่นแรง ห้ามเหยียบเข้าธรณีวัด’ การที่เขียนประกาศไว้อย่างนั้นก็เพื่อเตือนให้คนรู้ว่าเมื่อเวลา ที่คนดื่มส่ิ่งมึนเมาเข้าไปในร่างกายความประพฤติของคนนั้นจะหละหลวม ส่วนเครื่องเทศ หรือ สิ่งที่ส่งกลิ่นฉุนแรงทุกชนิด รวมทั้งกระเทียมกลิ่นฉุนจะทำให้พระที่ฝึกบำเพ็ญภาวนาเสียสมาธิ คำสอนที่ว่านี้ซึมซับเข้าไปในจิตสำนึกของคนญี่ปุ่นเป็นเวลาช้านาน จากคำสอนนี้เองทำให้ คนญี่ปุ่นเลี่ยงไม่กิน หรือใช้ […]
อนุทินรัก สมัยเฮอังของญี่ปุ่น (ตอนจบ)
ศาสนาพุทธนิกายเทนดะอิ และชินงง กล่าวว่า “ผู้หญิงต้องทนทรมานกับบาปดั้งเดิมและอุปสรรคกีดขวาง 5 ประการ (โงะโซ) ซึงกีดขวางทำให้ผู้หญิงไม่อาจหลุดพ้นจากบ่วงกรรม และไปเกิดใหม่ได้ สิ่งที่ผู้หญิงพอจะมีหวังก็คือ การไปเกิดใหม่เป็นผู้ชายเท่านั้น“ ( “Women in Changing Japan, pp.3,5,7.) ทางด้านศาสนา ผู้หญิงถูกดูถูกกดขี่เห็นว่าเป็นสิ่งที่เลวทรามที่ทำให้ผู้ชายไม่อาจไปเกิดใหม่ แม้ว่าใน พระราชบัญญัติไทโฮ ปี ค.ศ. 70 และพระราชบัญญัติโยโรในปี ค. ศ.718 จะมีการระบุห้ามสามี มีภรรยา (ถูกต้องตามกฏหมาย) ได้เกินหนึ่งคน และผู้หญิงยังได้รับการคุ้มครองทางด้านสิทธิจากกฏหมายในสมัยนั้น […]
อนุทินรัก สมัยเฮอังของญี่ปุ่น (6)
แต่สำหรับผู้เขียน “อนุทิน คะเงะโร”นั้น เธอมีความแตกต่างจากผู้หญิงอื่นอย่างเด่นชัดที่ว่า เธอไม่พอใจ ในสภาพชีวิตและการแต่งงานของเธอ เธอจึงเขียนความรู้สึกที่เธอไม่พอใจต่างๆในอนุทินของเธอ ซึ่งคิดว่าชีวิตของผู้หญิงคนอื่นๆในสมัยนั้น ก็คงไม่ได้แตกต่างจากเธอมากนัก เพียงแต่ว่า ผู้หญิงคนอื่นไม่ได้กล่าวถึงจุดเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมมากมายเท่าเธอ ซึ่งอาจจะเป็นผลจากความรู้สึกส่วนตัวของเธอเองที่ว่า เธอถูกพ่อแม่บีบบังคับให้แต่งงานกับชายที่เธอไม่ชอบ ไม่ได้รัก และทำให้เธอมีบทบาทจำกัดเพียงแค่อยู่แต่ในที่พักของเธอเองเท่านั้น จึงทำให้ความรู้สึกที่เธอเขียนในอนุทินเต็มไปด้วยความเศร้า และเกลียดชังชีวิตของเธอเอง ถ้าจะพูดถึงจุดนี้ ศาสนาพุทธและลัทธิขงจื้อก็มีส่วนทำให้ฐานะของผู้หญิงในสมัยเฮอังด้อยกว่าผู้ชายอย่างมากทีเดียว ความนึกคิดของขงจื้อเกี่ยวกับฐานะที่ต่ำต้อยของผู้หญิงมีบันทึกใน “ชิทซึเคียว”(ข้ออ้าง 7 ประการ) ที่บันทึกไว้ว่า ผู้ชายขอหย่ากับผู้หญิงได้ โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในบทบัญญัติสมัยศตวรรษที่ 8 และมีผลใช้ในพระราชบัญญัติไทโฮและเรื่อยมา ข้ออ้าง 7 […]
อนุทินรัก สมัยเฮอังของญี่ปุ่น (3)
ทั้งที่เป็นอนุทินที่มีผู้อ่านมากมาย และมีชื่อเสียงติดอันดับเป็นวรรณกรรมคลาสิกเรื่องหนึ่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่า ไม่มีใครรู้ว่าจริงๆ ผู้เขียนอนุทินนี้ คือใคร เพราะในสมัยเฮอัง เป็นสมัยที่แม้แต่เรื่องของคนธรรมดาสามัญก็ยังไม่มีให้สามัญชนได้อ่านกัน เรื่องที่อ่านๆกันในสมัยนั้น มักจะเป็นเรื่องราวที่เขียนโดยชนชั้นสูง สมัยเฮอังเป็นสมัยที่คนภายนอกไม่อาจรู้ได้ว่า โลกของชนชั้นสูงในสมัยนั้นเป็นอย่างไร สมัยเฮอังเป็นสมัยที่เรารู้จักแต่ละคนจากตำแหน่งที่ได้รับ เพราะสมัยนั้นญี่ปุ่นรับเอาระบบตำแหน่งต่างๆจากมีผลทำให้เรารู้จักแต่ตำแหน่งหน้าที่ของแต่ละคน แทนที่จะรู้จักว่าคนๆนั้นชื่ออะไร และเป็นใคร แม้แต่นางสนมในวังก็ตาม สมัยเฮอังจึงเป็นสมัยแห่งความพิศวง น่าสนใจ น่าศึกษา น่าค้นคว้าอย่างยิ่ง อนุทิน คะเงะโร ผู้เขียนอนุทิน คะเงะโร เป็นที่รู้จักดีในฐานะที่เป็นแม่ของมิทซิทซึนะ อนุทินนี้เป็นเรื่องที่เธอเขียนสะท้อนให้เราเห็นชีวิตสาวในวังในสมัยเฮอังของเธอเอง ว่ามีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร สำหรับคนที่ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับสมัยเก่าของญี่ปุ่น ในสมัยนั้นคนที่จะขีดเขียนได้ […]