Category: All about books
comments on new books, books to read, and authors
โอวาทธรรมคำสอน ของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
สวัสดีทุกคนที่แวะเข้ามาในโรงเรียนเด็กวัดปรียา วันนี้ ขอนำเอาโอวาทที่เพื่อนคนหนึ่งโพสให้อ่าน เห็นมีความรู้ก็เลยเอามาโพสให้ทุกคนได้อ่านกัน วิ่งโดยไม่มีเส้นชัย คนที่ยืดหยุ่น ปรับตนเอง ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เรียกได้ว่า…เป็นผู้ที่มีศิลปะแห่งการดำเนินชีวิต หรือเรียกว่าเป็นคนที่มี*สติ* คนที่สามารถรับ หรือไม่หวั่นไหวกับเรื่องราวที่เข้ามากระทบ เรียกว่าเป็นคนที่มี*สัมปชัญญะ*พร้อม และคนที่รับมือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อย่างไม่ทุกข์ร้อน เรียกว่าเป็นคนที่มี*ปัญญา* คน…ที่ใครเข้าหาก็มีความสุข ไปพบหาใคร ก็ไม่ก่อความเดือดร้อน หรือทุกข์ใจให้ผู้อื่นนั้น…เป็นบุคคลที่น่าสรรเสริญมาก บุคคล…หรือคนเหล่านี้จะใช้ สถานการณ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับชีวิตที่ตนใช้อยู่ ไม่ก่อภาระให้คนอื่น เดือดร้อน รำคาญ หรือเป็นผู้ที่เรียกร้อง เอาจากผู้อื่นอยู่ตลอดเวลาให้ทำตามความต้องการของตนเอง จนก่อเกิดให้ทั้งตนเอง และผู้อื่นมีความทุกข์ […]
รักแรกพบ หรือ Love at first sight (2)
เช้าวันนี้ คงเป็นถือว่าน่าจะเป็นเช้า แห่ง ควันหลงที่ได้จาก วัน สุข เมื่อวานนี้ ขอแวะเข้ามาแบ่งปัน ความ สุข ที่อยากจะเขียนคุยกับทุกคน ที่แวะเข้ามาในโรงเรียน เด็กวัดปรียา จากดอกไม้ “รักแรกพบ” นี้ ก่อเกิดเป็นความคิดที่เก็บตก ได้จากการสังเกต และการดูหนัง คลายเครียดทุกวัน เพื่อให้ชีวิตมีความสมดุล มากยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องการเอาอะไรที่อ่าน ฟัง หรือดู แล้วสร้าง ความเครียดให้แก่สมองโดยไม่จำเป็น เช่น หนังเมกา ดูแล้วก็คงรกสมอง […]
“พจนานุกรมภาษาอังกฤษออกซ์ฟอร์ด”
สวัสดีค่ะ เพื่อนๆและทุกคนที่แวะเข้ามาในโรงเรียนเด็กวัดปรียา วันนี้ ขอเอาบทความที่มีคนโพส มาแชร์ให้พวกเราได้อ่านกัน เพื่อจะได้รับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ พจนานุกรมภาษาอังกฤษออกซ์ฟอร์ดที่เรารู้จักกันดีที่ต้องปิดตัวลง เชื่อว่าหลายคนที่ทำงานในแวดวงภาษาน่าจะรู้จัก “พจนานุกรมภาษาอังกฤษออกซ์ฟอร์ด” เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นหนึ่งในพจนานุกรมที่ได้รับความเชื่อถือและเก่าแก่ตีพิมพ์ต่อเนื่องกว่าร้อยปี ภายใต้หัวสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออฟซ์ฟอร์ด หรือ OUP . OUP หรือ Oxford Univercity Press นั้นพิมพ์หนังสือตั้งแต่พระคัมภีร์ พนจนานุกรม หนังสือวิชาการ ไปจนถึงตำราดนตรี ซึ่งพิมพ์หนังสือเล่มแรกตั้งแต่ปี 1478 (แต่ได้รับสิทธิ์ในการพิมพ์หนังสืออย่างเป็นทางการตามพระราชกฤษฎีกาในปี 1586) . แต่ล่าสุดประวัติศาสตร์ […]
Ikigai ของญี่ปุ่น ปูชนียบุคคลของญี่ปุ่น (ตอนจบ)
ปูชนียบุคคล คนแรก คือโทโยโซ อะระคะวะ อายุ 87 ปี มีอาชีพปั้นชามที่ใช้ในพิธีดื่มน้ำชาของญี่ปุ่น ซึ่งแต่ดั้งเดิมพิธีดื่มน้ำชานั้น ญี่ปุ่นรับมาจากจีน และเริ่มมานิยมกันมากในสมัย มุโระมะทซิ (ค. ศ.1336-1573 ) โดยที่การดื่มน้ำชาแบบมีพิธีรีตรองมากมายแบบปัจจุบันนั้น มีกำเนิดมาจากศาสนา เซน โดยที่พระในศาสนาเซนจะนั่งเข้าพิธีฝึกสมาธิเป็นเวลาหลายๆชั่วโมงโดยไม่ให้รู้สึกง่วง แต่ต่อมาพิธีดื่มน้ำชาก็มีการพัฒนาตัวเองมาใช้เป็นของคู่กับสังคมญี่ปุ่นที่ต้องมีการร่ำเรียน ตั้งแต่ท่าทาง อากัปกริยา การวางมือ การตักชา การแกว่งชา และการเลือกสรรถ้วยชาให้เข้ากับฤดูและพิธีในแต่ละครั้ง ตลอดจนมารยาทที่สำรวมของผู้เข้าพิธี ล้วนแล้วแต่มีกฏกเกณฑ์บังคับอย่างเคร่งครัด และต้องใช้เวลาเรียนหลายปีกว่าจะเข้าซึ้งถึงแก่นแท้ของคุณค่าของมัน แม้ว่าจุดประสงค์ของการดื่มน้ำชาจะถูกดัดแปลงตามกาลเวลาก็ตามแต่ความสวยงามอย่าง […]
Ikigai ของญี่ปุ่น ปูชนียบุคคลของญี่ปุ่น (2)
ในมุมแคบ ความหมายของคำว่า iKigai อิคิ งะอิ 生き甲斐 คือ 1) การสร้างพลังกายและใจให้ตัวเองรู้สึกถึงความยินดี และความหมายของการมีเป้าหมายหรือมีจุดมุ่งหมายในชีวิต อีกนัยหนึ่งกือการสร้างยาคุมกันให้กำลังใจแก่จิตใจ อิคิ งะอิ 生き甲斐 เป็นสำนวนที่ใช้บ่อยมาก สำหรับคนญี่ปุ่ในระดับบุคคลในครอบครัว เช่น ถ้าถาม พ่อแม่บางคนว่า อิคิ งะอิ 生き甲斐 ของเขาคืออะไร แม่บางคน อาจจะตอบว่า อิคิ งะอิ 生き甲斐 ของเธอคือลูก เพราะเธอมีชีวิตอยู่เพื่อลูก […]
Ikigai ของคนญี่ปุ่น–ปูชนียบุคคลของญี่ปุ่น (1)
สวัสดีเพื่อนๆทุกคน วันนี้เป็น วัน ‘สุข’ มีความสุขกับการนั่งขีดเขียน เก็บ กักตัวเองอย่างเต็มใจเพื่อ ตัวเอง เพื่อสังคม และชาติของเราเอง บทความที่จะอ่านกันนี้ เขียนเมื่อ 6-06-2017 ในเว็บไซด์ของ วินทร์ เลี้ยววารินทร์ ศิลปินแห่งชาติสองสมัย มาแล้ว เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2017 มีโอกาสแวะเข้าไปคุยกับคุณวินทร์ ในหัวข้อ “แวะเข้ามาคุย” สืบเนื่องจากการอ่าน เหตุผลที่ตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ที่คุณ วินทร์ เขียนไว้น่าสนใจมาก […]
กระโถน -กระถาง ชยสาโรภิกขุ –หลวงพ่อ ชา
สวัสดีค่ะ เพื่อนๆน้องๆ และทุกคนที่แวะเข้ามาใน โรงเรียนเด็กวัดปรียา วันนี้ อยากจะเอาบทโคลงกลอนที่ พระชยสาโร เขียนพรรณนาถึง หลวงพ่อชา ให้ทุกคนได้ โดยพยายามถอดความหมายจากภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่มีคำศัพท์ยาก แต่แปลออกมายากมาก หลวงพ่อชา หลวงพ่อคือน้ำพุ ของน้ำในลำธารที่ไหลเย็น ในจัตุรัสของเมืองที่เต็มไปด้วยฝุ่น และหลวงพ่อ คือแหล่งที่มาของลำธารสายนั้น บนยอดเขาสูงที่มองไม่เห็น หลวงพ่อ ก็คือ ภูเขาลูกนั้นเอง ภูเขาที่ไม่ขยับเขยื้อน แต่เห็นได้หลากหลาย หลวงพ่อ ไม่เคยเป็น เพียงคนๆหนึ่ง […]
ขอถามความในใจ ริคิว (จบ)
แม้จะรู้ว่าเป็นวันสุดท้ายก็ตาม ฉากสำคัญอีกฉากหนึ่งในหนังที่สร้างได้ประทับใจมากอีกฉากก็คือ ฉากที่ ฮิเดะโยะไปงานเทศกาลพิธีการชงชาที่เขาให้จัดขึ้น เขาได้เห็นผู้คนมากมาย เขาตกใจมากเมื่อเห็น ชาวบ้านต่างพากันไปแย่งดูพิธีชงชาของพระริคิว ฉากที่ฮิเดะโยะชิ ไปเห็นสภาพความเป็นจริงและความยิ่งใหญ่ของพระริคิว ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งพระริคิวเคยช่วยชีวิตของเขาไว้ จากการถูกประหารชีวิตโดยโอะดะ ฮิเดะโยะชิย่อมเคารพและนับถือพระริคิว แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ความเป็นตัวตนของพระริคิวนั้น ยิ่งวันยิ่งใหญ่และมีอำนาจ แข่งบารมีกับ ฮิเดะโยะชิ และยิ่งวันพระริคิว ก็เป็นที่รู้จักของคนมากขึ้นทุกที ขนาดที่ทางวัดและประชาชนร่วมกันสร้างรูปปั้นให้พระริคิวเป็นที่ระลึก พอฮิเดะโยะชิไปเห็นรูปปั้นของพระริคิวที่ยืนอยู่ และมองลงมาข้างล่างในวัด ฮิเดะโยะชิเกิด ความรู้สึกหวาดกลัวว่า ถ้าเขาปล่อยทิ้งไว้อย่างนี้ สักวันพระริคิวจะยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เขาจะควบคุมได้ ความรู้สึกอิจฉาคงเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น พอฮิเดะโยะชิไปถึงสถานที่ที่พระริคิว กำลังสาธิตพิธีการชงชา […]
ขอถามความในใจ ริคิว (1)
สวัสดีค่ะเพื่อนๆทุกคน ใครที่สนใจญี่ปุ่น และอยากรู้เรื่องญี่ปุ่น เชิญเลยค่ะ บทความนี้เคยเขียนใน คุยกับวินทร์ หรือ คุณ วินทร์ เลียววารินทร์ นักเขียนซีไรท์สองครั้งและศิลปินแห่งชาติ วันนี้ ขอแวะเข้ามาเขียน เกร็ดความรู้และความประทับใจที่เก็บตก เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ฮิเดะโยะชิ แลพระริคิว ที่ได้จากการบันทึกในประวัติศาสตร์ และจากหนังเรื่อง “ริคิว นิ ทะซึเนะ โยะ”(利休にたずねよ) หรือ ชื่อเรื่องว่า“ขอถาม(ความในใจ) ริคิว ความรู้พื้นฐาน ก่อนอ่าน สำหรับคนที่ไม่รู้หรือยังไม่เคยได้ยินชื่อเสียงของฮิเดะโยะชิ โทะโยะโทะมิ […]
กวีชื่อดัง มะทซึโอะ บะโช 芭蕉松尾 (จบ
จากบทกวีนี้ เราคงจะเห็นได้ว่า เขามีความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจที่แน่นแฟ้น ตลอดจนความรู้สึกร่วมกับต้นกล้วยซึ่งปลูกไว้หน้ากระท่อมของเขา คงเป็นเสมือนเพื่อนคนเดียวของเขาในคืนฝนตก คนที่ไปมาหาสู่เขา ส่วนใหญ่คงจะมองเห็นต้นกล้วย เพราะปลูกสูงโด่เด่อยู่หน้ากระท่อม คนที่ไปมาหาสู่เขาคงมองว่า ต้นกล้วยนั้นก็คงเป็นเพียงต้นกล้วยธรรมดาต้นหนึ่งเท่านั้น บางคนอาจจะเห็นความผูกพันที่เขามีต่อต้นกล้วยที่ปลูกหน้ากระท่อมของเขาว่าคงไม่ใช่ต้นกล้วยธรรมดา หลังจากที่เขาย้ายเข้าไปอยู่ในกระท่อมหลังนั้น คนที่ไปมาหาสู่บะโช จะเรียกว่า ‘กระท่อม’แต่พอเห็นว่าบะโชมีความผูกพัน และรักต้นกล้วยต้นนั้นอย่างมาก คนที่ไปมาหาสู่ก็เลยตั้งชื่อกระท่อมหรือบ้านพักของเขา เวลาที่พูดถึงกระท่อมของเขาว่า บะโช 芭蕉ばしょう หรือ ‘ต้นกล้วย’ จากนั้นมา คนที่ไปมาหาสู่แทนที่จะเรียกว่า ‘กระท่อม’กลับเปลี่ยนไปใช้ชื่ออาจารย์ที่สอนบทกวีให้พวกเขาว่า ‘อาจารย์ บะโช’หรือ ‘อาจารย์ต้นกล้วย’ นั่นเอง ซึ่งบะโช เองก็ไม่ปฏิเสธเวลาที่คนเรียกเขาจากชื่อเล่นนี้ เพราะตัวเขาเองก็มีใจรักผูกพันกับต้นกล้วยต้นนั้นอย่างมาก จากนั้นมาชื่อ บะโช 芭蕉ばしょう จึงเป็นไม่ใช่เป็นเพียงชื่อของ กระท่อมที่มีต้นกล้วยเท่านั้น แต่ยังเป็นชื่อเล่นของเขาอีกด้วย […]