Category: โคลง กลอน
“พจนานุกรมภาษาอังกฤษออกซ์ฟอร์ด”
สวัสดีค่ะ เพื่อนๆและทุกคนที่แวะเข้ามาในโรงเรียนเด็กวัดปรียา วันนี้ ขอเอาบทความที่มีคนโพส มาแชร์ให้พวกเราได้อ่านกัน เพื่อจะได้รับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ พจนานุกรมภาษาอังกฤษออกซ์ฟอร์ดที่เรารู้จักกันดีที่ต้องปิดตัวลง เชื่อว่าหลายคนที่ทำงานในแวดวงภาษาน่าจะรู้จัก “พจนานุกรมภาษาอังกฤษออกซ์ฟอร์ด” เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นหนึ่งในพจนานุกรมที่ได้รับความเชื่อถือและเก่าแก่ตีพิมพ์ต่อเนื่องกว่าร้อยปี ภายใต้หัวสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออฟซ์ฟอร์ด หรือ OUP . OUP หรือ Oxford Univercity Press นั้นพิมพ์หนังสือตั้งแต่พระคัมภีร์ พนจนานุกรม หนังสือวิชาการ ไปจนถึงตำราดนตรี ซึ่งพิมพ์หนังสือเล่มแรกตั้งแต่ปี 1478 (แต่ได้รับสิทธิ์ในการพิมพ์หนังสืออย่างเป็นทางการตามพระราชกฤษฎีกาในปี 1586) . แต่ล่าสุดประวัติศาสตร์ […]
ขอถามความในใจ ริคิว (จบ)
แม้จะรู้ว่าเป็นวันสุดท้ายก็ตาม ฉากสำคัญอีกฉากหนึ่งในหนังที่สร้างได้ประทับใจมากอีกฉากก็คือ ฉากที่ ฮิเดะโยะไปงานเทศกาลพิธีการชงชาที่เขาให้จัดขึ้น เขาได้เห็นผู้คนมากมาย เขาตกใจมากเมื่อเห็น ชาวบ้านต่างพากันไปแย่งดูพิธีชงชาของพระริคิว ฉากที่ฮิเดะโยะชิ ไปเห็นสภาพความเป็นจริงและความยิ่งใหญ่ของพระริคิว ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งพระริคิวเคยช่วยชีวิตของเขาไว้ จากการถูกประหารชีวิตโดยโอะดะ ฮิเดะโยะชิย่อมเคารพและนับถือพระริคิว แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ความเป็นตัวตนของพระริคิวนั้น ยิ่งวันยิ่งใหญ่และมีอำนาจ แข่งบารมีกับ ฮิเดะโยะชิ และยิ่งวันพระริคิว ก็เป็นที่รู้จักของคนมากขึ้นทุกที ขนาดที่ทางวัดและประชาชนร่วมกันสร้างรูปปั้นให้พระริคิวเป็นที่ระลึก พอฮิเดะโยะชิไปเห็นรูปปั้นของพระริคิวที่ยืนอยู่ และมองลงมาข้างล่างในวัด ฮิเดะโยะชิเกิด ความรู้สึกหวาดกลัวว่า ถ้าเขาปล่อยทิ้งไว้อย่างนี้ สักวันพระริคิวจะยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เขาจะควบคุมได้ ความรู้สึกอิจฉาคงเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น พอฮิเดะโยะชิไปถึงสถานที่ที่พระริคิว กำลังสาธิตพิธีการชงชา […]
กวีชื่อดัง มะทซึโอะ บะโช 芭蕉松尾 (จบ
จากบทกวีนี้ เราคงจะเห็นได้ว่า เขามีความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจที่แน่นแฟ้น ตลอดจนความรู้สึกร่วมกับต้นกล้วยซึ่งปลูกไว้หน้ากระท่อมของเขา คงเป็นเสมือนเพื่อนคนเดียวของเขาในคืนฝนตก คนที่ไปมาหาสู่เขา ส่วนใหญ่คงจะมองเห็นต้นกล้วย เพราะปลูกสูงโด่เด่อยู่หน้ากระท่อม คนที่ไปมาหาสู่เขาคงมองว่า ต้นกล้วยนั้นก็คงเป็นเพียงต้นกล้วยธรรมดาต้นหนึ่งเท่านั้น บางคนอาจจะเห็นความผูกพันที่เขามีต่อต้นกล้วยที่ปลูกหน้ากระท่อมของเขาว่าคงไม่ใช่ต้นกล้วยธรรมดา หลังจากที่เขาย้ายเข้าไปอยู่ในกระท่อมหลังนั้น คนที่ไปมาหาสู่บะโช จะเรียกว่า ‘กระท่อม’แต่พอเห็นว่าบะโชมีความผูกพัน และรักต้นกล้วยต้นนั้นอย่างมาก คนที่ไปมาหาสู่ก็เลยตั้งชื่อกระท่อมหรือบ้านพักของเขา เวลาที่พูดถึงกระท่อมของเขาว่า บะโช 芭蕉ばしょう หรือ ‘ต้นกล้วย’ จากนั้นมา คนที่ไปมาหาสู่แทนที่จะเรียกว่า ‘กระท่อม’กลับเปลี่ยนไปใช้ชื่ออาจารย์ที่สอนบทกวีให้พวกเขาว่า ‘อาจารย์ บะโช’หรือ ‘อาจารย์ต้นกล้วย’ นั่นเอง ซึ่งบะโช เองก็ไม่ปฏิเสธเวลาที่คนเรียกเขาจากชื่อเล่นนี้ เพราะตัวเขาเองก็มีใจรักผูกพันกับต้นกล้วยต้นนั้นอย่างมาก จากนั้นมาชื่อ บะโช 芭蕉ばしょう จึงเป็นไม่ใช่เป็นเพียงชื่อของ กระท่อมที่มีต้นกล้วยเท่านั้น แต่ยังเป็นชื่อเล่นของเขาอีกด้วย […]
กวีชื่อดัง มะทซึโอะ บะโช 芭蕉松尾 (2)
บะโชอาศัยอยู่ในกระท่อมนี้คนเดียว ยามที่ไม่มีแขก หรือยามที่ไม่มีใครไปเยี่ยม เขาจะนั่งมองต้นกล้วยที่สูงโด่เด่อยู่หน้ากระท่อมของเขาอย่างเงียบๆ และนั่งทอดอารมณ์กับเสียงลมพัดที่พัดมากระทบใบของต้นกล้วย บรรยากาศแห่งความเงียบ และความเหงาจะทวีคูณมากขึ้นในคืนที่ฝนตก เสียงฝนตกที่ตกลงมากระทบหลังคากระท่อมที่รั่ว เสียงน้ำฝนที่หยดเป็นช่วงๆอย่างไม่ต่อเนื่อง ลงมาในอ่างใบเล็กที่เขาวางไว้รองรับน้ำฝนบนพื้น คงเป็นเสียงเดียวที่เป็นเสมือนเพื่อนของเขาในยามค่ำคืนที่ฝนตก เสียงน้ำฝนที่หยดดังติ๋ง ติ๋ง หยดลงมาทีละหยดสองหยดอย่างไม่ต่อเนื่อง ลงในอ่างใบเล็ก สำหรับโสตประสาทการรับเสียงของกวีผู้ซึ่งนั่งฟังเสียงอย่างเงียบคนเดียวในกระท่อม ท่ามกลางแสงไฟริบหรี่จากตะเกียงในห้องแคบๆเล็กๆ เสียงน้ำฝนจากหลังคาที่รั่วที่หยดลงลงมากระทบกับอ่างใบเล็กที่วางอยู่บนพื้นในคืนฝนอย่างเช่นคืนนี้ เสียงของน้ำฝนแต่ละหยดที่หล่นลงมากระทบอ่างใบเล็กคงไม่ต่างอะไรกับเสียงประสานที่เข้ากันได้อย่างดีกับเสียงดังจากลมที่พัด ทำให้ได้ยินเสียงดังของใบต้นกล้วยที่ยืนโด่ต้านเสียงลมที่พัดมาอย่างแรงจากทะเลข้างนอกกระท่อม ท่ามกลางสายฝน และเสียงน้ำฝนที่หยดผ่านลงมาจากหลังคารั่วของกระท่อม สำหรับกวีเอกอย่างบะโช คงไม่ใช่เสียงที่ก่อความน่ารำคาญแก่หูของเขาเช่นคนทั่วไป แต่กลับก่อเกิดเป็นบทกวี ที่เข้ากับบรรยากาศในคืนนั้น และขณะนั้นได้อย่างดีเยี่ยม ———— บะโชนั่งฟังเสียงฝน จากหลังคารั่ว ในกระท่อมที่เงียบเหงา […]
กวีชื่อดัง มะทซึโอะ บะโช 芭蕉松尾 (1)
สวัสดีค่ะเด็กวัดโรงเรียนปรียาทุกคน ตามคำเรียกร้องจากนักศึกษาที่เรียนวรรณคดีญี่ปุ่น เขียนมาบอกว่า อยากรู้ว่า บะโช มีความเป็นมาอย่างไร ดิฉันเขียนเรื่องนี้ให้นักเรียนที่อยากรู้เรื่องไฮคุและเรื่องบะโชอ่านเมื่อสิบปีมาแล้ว โดยส่วนตัวแล้ว ไม่มีความสามารถในการแต่งไฮคุ แต่ชอบบทกวี และสุภาษิตต่างๆ วันนี้ เลยไปเรียบเรียงใหม่ และเอามาให้ทุกคนในเว็บนี้ ที่อาจมีคนที่มีความสามารถทางด้านการแต่งโคลง กลอน ได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับ ความเป็นมาของชื่อกวีเอกญี่ปุ่น ถือว่าเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆที่มาแบ่งปันกัน ————————– ถ้าพูดถึง 俳句 ไฮคุ ของญี่ปุ่นใครๆ ก็คงต้องยกให้กวีชื่อดัง มะทซึโอะ บะโช 芭蕉松尾 บะโช เกิดใน ปี ค.ศ.1644 แถวอุเอะโนะ ในจังหวัด […]
ขอถามความในใจ ริคิว (4)
ความเร้นลับเกี่ยวกับ “ความงาม” ของริคิว จากหนังเรื่องนี้ เมื่อพูดถึง “ความงาม” ผู้ชมจะเห็นได้ชัดถึงความรัก ความลุ่มหลงหรือหลงใหลใน “ความงาม” ที่ ริคิว สร้างขึ้นจากจินตนาการ ความรัก ความหลงใหล และการเสาะแสวงหา “ความงาม” ที่เขาต้องการไขว่คว้ามาให้ได้ไม่มีวันสิ้นสุด นับตั้งแต่เขายังเป็นวัยหนุ่ม แม้จนวันสุดท้ายของชีวิตของริคิว ริคิว ไม่เกรงกลัวและไม่ยอมก้มหัวให้ใครเมื่อเป็นเรื่อง “ความงาม” แม้แต่ นักรบผู้ยิ่งใหญ่ โอะดะ ที่ให้การสนับสนุน ริคิว มาตั้งแต่ตอนที่เขาเป็นหนุ่ม “ความงาม” ที่เขาหลงใหลอย่างมากและลึกซึ้งเกินกว่าที่คนจะเข้าใจได้ […]
ขอถามความในใจ ริคิว (2)
ในห้องชงชา ขอเท้าความฉากที่ฮิเดะโยะชิ รู้ตัวว่ากำลังชะตาจะขาด ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งหรือไปปรับทุกข์กับใคร นอกจาก ริคิว เราคงจำฉากที่ฮิเดะโยะชิ เดินผ่านเข้าไปที่สวนในบ้านของ ริคิว ฮิเดะโยะชิ เหลือบไปเห็นใบไม้บนต้นอะซะงะโอะ ในสวน ที่ไม่มีดอกอะซะงะโอะ แม้แต่ดอกเดียว เขาเดินเข้าไปในห้องพิธีชงชา ด้วยจิตใจที่หม่นหมองไม่อยู่กับร่องกับรอย พอฮิเดะโยะชิ เข้าไปในห้องชงชา เขารู้สึกประหลาดใจที่เห็นดอกอะซะงะโอะ ดอกหนึ่งปักอยู่ในแจกันไม้ไผ่ ตั้งอยู่หน้าโทะโคะโนะมะ พอฮิเดะโยะชิ นั่งลงเรียบร้อยแล้ว ริคิวก็เตรียมตัวที่จะเริ่มชงชาให้ฮิเดะโยะชิ ทุกครั้งที่ ริคิว จะทำพิธีชงชา เขาจะต้องเอามือล้วงเข้าไปในหน้าอกชุดกิโมโน เพื่อหยิบกระปุกเล็กใส่ชาสีเขียวเหมือนหยกออกมาเสมอ ในกระปุกชาเล็กสีเขียวที่เขาพกติดตัวใส่ในหน้าอกชุดกิโมโนของเขา […]
อนุทินรัก สมัยเฮอังของญี่ปุ่น (6)
แต่สำหรับผู้เขียน “อนุทิน คะเงะโร”นั้น เธอมีความแตกต่างจากผู้หญิงอื่นอย่างเด่นชัดที่ว่า เธอไม่พอใจ ในสภาพชีวิตและการแต่งงานของเธอ เธอจึงเขียนความรู้สึกที่เธอไม่พอใจต่างๆในอนุทินของเธอ ซึ่งคิดว่าชีวิตของผู้หญิงคนอื่นๆในสมัยนั้น ก็คงไม่ได้แตกต่างจากเธอมากนัก เพียงแต่ว่า ผู้หญิงคนอื่นไม่ได้กล่าวถึงจุดเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมมากมายเท่าเธอ ซึ่งอาจจะเป็นผลจากความรู้สึกส่วนตัวของเธอเองที่ว่า เธอถูกพ่อแม่บีบบังคับให้แต่งงานกับชายที่เธอไม่ชอบ ไม่ได้รัก และทำให้เธอมีบทบาทจำกัดเพียงแค่อยู่แต่ในที่พักของเธอเองเท่านั้น จึงทำให้ความรู้สึกที่เธอเขียนในอนุทินเต็มไปด้วยความเศร้า และเกลียดชังชีวิตของเธอเอง ถ้าจะพูดถึงจุดนี้ ศาสนาพุทธและลัทธิขงจื้อก็มีส่วนทำให้ฐานะของผู้หญิงในสมัยเฮอังด้อยกว่าผู้ชายอย่างมากทีเดียว ความนึกคิดของขงจื้อเกี่ยวกับฐานะที่ต่ำต้อยของผู้หญิงมีบันทึกใน “ชิทซึเคียว”(ข้ออ้าง 7 ประการ) ที่บันทึกไว้ว่า ผู้ชายขอหย่ากับผู้หญิงได้ โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในบทบัญญัติสมัยศตวรรษที่ 8 และมีผลใช้ในพระราชบัญญัติไทโฮและเรื่อยมา ข้ออ้าง 7 […]
อนุทินรัก สมัยเฮอังของญี่ปุ่น (5)
สถานภาพของผู้หญิงในสมัยเฮอัง จาก อนุทิน คะเงะโร ภาพพจนของผู้หญิงญี่ปุ่น ที่ห่อหุ้มตัวเองในชุดกิโมโนที่ทอด้วยผ้าไหมอย่างดี หลากสี หลายชั้น ที่ทอด้วยไหมและสีสันที่สวยงาม กว่าจะออกมาเป็นกิโมโนะ ให้คนได้ใส่ เพียงแค่เดินผ่านก็อดทึ่งในความสวยงามที่แปลกตา ประณีต ละเอียด ด้วยสีสันที่เลือกเฟ้น เป็นความสวยงามที่มีทั้งความสง่างาม ทั้งหรูหรา แม้กิโมโน ราคาแพงๆอาจจะปักด้วยดิ้นทองก็ตาม แต่ก็เป็นความสวยงามที่ไม่ได้ฉูดฉาด หรือใช้สีฉาบฉวย แต่เป็นความสวยงามที่มีความวิจิตร พิสดาร ไม่อาจจะบรรยายเป็นคำพูดได้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่า นับวันคนญี่ปุ่นที่จะใส่ชุดกิโมโนให้เห็นเหมือนเมื่อสี่สิบปีก่อน ยิ่งวันยิ่งมีให้เห็นน้อยลงทุกที ภาพพจน์ของผู้หญิงญี่ปุ่นในสมัยโบราณที่ห่อหุ้มด้วยชุดกิโมโน และสถานภาพทางสังคมของผู้หญิงญี่ปุ่นในอดีต หรือแม้แต่ปัจจุบันก็ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของคนทั่วไป […]
อนุทินรัก สมัยเฮอังของญี่ปุ่น (4)
ก่อนที่ดิฉันจะอ่านหนังสือเล่มนี้ ขนาดชื่อ เรื่อง อนุทิน คะเงะโร ดิฉันยังมืดแปดด้านไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร มีและความหมายอะไร หนังสืออนุทินเล่มนี้ แปลมานานอ่านมาตั้งแต่สมัยไปเรียนที่อเมริกา ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า ‘The Gossamer Years’ แปลโดย Edward Seidensticker จากนั้นก็มีหลายเล่มที่แปลออกมาใหม่ แต่เล่มที่อ่านคือเล่มที่แปลโดย ไซเดนสติกเกอร์ เพราะฉบับภาษาญี่ปุ่น คงไม่มีใครอ่านได้ แม้แต่คนญี่ปุ่นปัจจุบัน เพราะเป็นภาษาเก่าดั้งเดิมในสมัยเฮอัง คะเงะโร นิคคิ คะเงะโร นิคคิ หรือ อนุทิน คะเงะโร […]