“A calendar of wisdom” ปฏิทินแห่งปัญญา (1)

Health

สวัสดีเพื่อนๆและศิษย์รักทุกคน

A calendar of wisdom

ปฏิทินแห่งปัญญา (ฉบับตีพิมพ์ในรัสเซียในปี ค.ศ. 1912)

 

269432

     วันนี้แวะเข้ามาเขียนเรื่องเกี่ยวกับ หนังสือ A calendar of wisdom   “ปฏิทินแห่งปัญญา” ของ ลีโอ ตอลสตอย หนังสือทุกเล่มที่ตัวเองซื้อมา  ก่อนอื่นจะต้องอ่าน   บทนำของผู้เขียน หรือถ้าเป็นหนังสือแปลก็จะต้องอ่าน เบื้องหน้าเบื้องหลัง ของหนังสือแปลเล่มนั้นๆ  เพราะว่าอย่างน้อยที่สุดตัวเองก็เป็นนักเขียนและนักแปล ที่ทุกครั้งไม่ว่าจะลงมือแปลหนังสือเล่มใดก็ตาม ตัวเองจะต้องมีแรงบันดาลใจ และแรงจูงใจ ที่ทำให้ต้องหยิบหนังสือเล่มนั้นๆมาแปลไม่ว่าจากภาษาญี่ปุ่น หรือจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย

ถ้าเป็นหนังสือที่ตัวเองเขียนเอง เช่น มองแดนซากุระ รู้จักญี่ปุ่น เล่ม 1-4  ตำนานอาหารญี่ปุ่น เป็นต้น ทุกครั้งตัวเองจะต้องตอบตัวเองได้ว่า ทำไมจึงอยากเขียนหนังสือเล่มนั้น ทุกครั้งจะถ่ายทอดความรู้สึกที่มีต่อหนังสือนั้นๆให้ผู้อ่านที่ติดตามซื้อหนังสือที่ตัวเองเขียนให้ผู้อ่านที่ชอบญี่ปุ่น ได้มีส่วนรับรู้ว่า ตัวเองเขียนหนังสือเล่มนั้นๆด้วยเหตุผล และแรงจูงใจอะไร

หนังสือ A calendar of wisdom  (ปฏิทินแห่งปัญญา) สั่งซื้อหนังสือนี้มาตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว แต่ยังไม่มีอารมณ์ และไม่มีเวลาที่จะหยิบมาอ่าน จนกระทั่งเวลาผ่านไปเกือบสี่เดือน เห็นหนังสือ หรือ เพื่อนรักรอ อยู่บนหิ้ง พอมองไปที่หิ้งหนังสือ ก็มีความรู้สึกที่อยากจะหยิบมาอ่าน อยากรู้เพื่อนรักจะเล่าเรื่องอะไรให้ฟัง

เพียงแค่หยิบหนังสือเล่มนี้ ติดตัวใส่กระเป๋า คิดว่าติดกระเป๋าไปอ่านเล่นๆเพลินๆ ที่ร้านกาแฟสตาร์บัคส์ บลูพอร์ต เพียงแค่เปิดบทนำที่เขียนโดย Peter Sekirin ผู้แปลหนังสือเล่มนี้ ก็แทบจะวางหนังสือ A calendar of wisdom  (ปฏิทินแห่งปัญญา)  ของลีโอ ตอลสตอย ไม่ลง

ในบทนำโดย ลีโอ ตอลสตอยเขาเขียนไว้น่าอ่านมา แต่ขอยกเฉพาะส่วนที่เห็นว่าสำคัญ และน่าสนใจมาให้อ่านกัน

—ผมนำความคิดที่รวบรวมได้มาใส่ในหนังสือเล่มนี้จากผลงานและคอลเล็กชัน

จำนวนมาก ผมระบุชื่อผู้เขียนในแต่ละความคิดที่ได้ข้างล่าง แม้ว่าผมจะไม่ได้ระบุแหล่งที่แน่นอน ของที่มาของ ชื่อหนังสือ หรือผลงาน

ในบางกรณี ผมไม่ได้แปลความคิดเหล่านี้โดยตรงจากแหล่งดั้งเดิมของพวกเขา แต่ได้จากการแปลที่ได้จากภาษาที่ผมรู้จักดี ดังนั้นบางครั้งงานแปลของผมอาจไม่เหมือนกับต้นฉบับทีเดียว
เมื่อผมแปลความคิดโดยนักคิดชาวเยอรมัน ฝรั่งเศส หรืออิตาลี ผมไม่ได้แปลตามต้นฉบับอย่างเคร่งครัด ผมมักจะทำให้สั้นลงและทำให้เข้าใจง่ายขึ้น พร้อมกับละเว้นบางคำในต้นฉบับ

ผู้อ่านอาจบอกว่า คำพูดนั้นไม่ใช่คำพูดของ ปาสกาล Pascal หรือ รุสโซ Rousseau แต่มันเป็นงานของผมเอง แต่ผมคิดว่าไม่มีอะไรผิดในการที่จะถ่ายทอดความคิดของพวกเขาในรูปแบบดัดแปลง

ดังนั้น หากใครต้องการแปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาอื่น ผมขอแนะนำว่า อย่าไปมองหาคำพูด ต้นฉบับของกวีชาวอังกฤษ โคเลอริดจ์ Coleridge นักปราชญ์ชาวเยอรมัน กันต์ Kant หรือนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส รุสโซ Rousseau แต่ขอให้แปลจากงานเขียนของผมโดยตรง

ลีโอ ตอลสตอย มีนาคม 1908

อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ความคิดเหล่านี้อาจไม่ตรงกับต้นฉบับ เพราะว่าบางครั้งต้อง

ใช้ความคิดจากการโต้แย้งที่ยืดยาวและซับซ้อนทำให้ต้องเปลี่ยนถ้อยคำและวลีบางคำเพื่อความกระจ่างชัดและเพื่อให้สำนวนที่ใช้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ในบางกรณี ผมแสดงความคิดทั้งหมดด้วยคำพูดของผมเอง การที่ผมทำแบบนี้เพราะว่า  จุดประสงค์ของหนังสือของผม ไม่ใช่เพื่อให้มีความชัดเจนด้วยการแปลคำต่อคำความคิดที่คิดหรือสร้างขึ้นโดยนักเขียนคนอื่น

แต่จะใช้มรดกทางปัญญาที่ยิ่งใหญ่และมีผลซึ่งสร้างโดยนักเขียนต่างๆ เพื่อนำเสนอให้คนอ่านทั่วไปในวงกว้างและให้เข้าถึงได้ง่าย วัฏจักรของการอ่านทุกวันที่จะกระตุ้นความคิดและความรู้สึกที่ดีที่สุดของพวกเขา

 

Leave a Reply