
Ikigai ของญี่ปุ่น ปูชนียบุคคลของญี่ปุ่น (ตอนจบ)
ปูชนียบุคคล คนแรก คือโทโยโซ อะระคะวะ อายุ 87 ปี มีอาชีพปั้นชามที่ใช้ในพิธีดื่มน้ำชาของญี่ปุ่น ซึ่งแต่ดั้งเดิมพิธีดื่มน้ำชานั้น ญี่ปุ่นรับมาจากจีน และเริ่มมานิยมกันมากในสมัย มุโระมะทซิ (ค. ศ.1336-1573 ) โดยที่การดื่มน้ำชาแบบมีพิธีรีตรองมากมายแบบปัจจุบันนั้น มีกำเนิดมาจากศาสนา เซน โดยที่พระในศาสนาเซนจะนั่งเข้าพิธีฝึกสมาธิเป็นเวลาหลายๆชั่วโมงโดยไม่ให้รู้สึกง่วง
แต่ต่อมาพิธีดื่มน้ำชาก็มีการพัฒนาตัวเองมาใช้เป็นของคู่กับสังคมญี่ปุ่นที่ต้องมีการร่ำเรียน ตั้งแต่ท่าทาง อากัปกริยา การวางมือ การตักชา การแกว่งชา และการเลือกสรรถ้วยชาให้เข้ากับฤดูและพิธีในแต่ละครั้ง ตลอดจนมารยาทที่สำรวมของผู้เข้าพิธี ล้วนแล้วแต่มีกฏกเกณฑ์บังคับอย่างเคร่งครัด และต้องใช้เวลาเรียนหลายปีกว่าจะเข้าซึ้งถึงแก่นแท้ของคุณค่าของมัน แม้ว่าจุดประสงค์ของการดื่มน้ำชาจะถูกดัดแปลงตามกาลเวลาก็ตามแต่ความสวยงามอย่าง
ธรรมชาตที่เรียบง่าย เยือกเย็น สบายอารมณ์แก่ผู้ใช้ของถ้วยใส่น้ำชาในพิธีดื่มน้ำชาของญี่ปุ่นยังคงเหมือนกับในสมัยศตวรรษที่ 14
อะระคะวะ
อะระคะวะ เริ่มปั้นถ้วยชามที่ใช้ในพิธีดื่มน้ำชาของตั้งแต่ปี คศ 1930 เขากล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า ด้วยมือเปล่าทั้งสองของเขา ประกอบกับธรรมชาติรอบๆตัวของเขา ทำให้เขาสามารถที่จะรับและดูดซึมความสวยงามที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้วก็บรรจุ และกลั่นกรองความสวยงามดังกล่าวนั้นลงในชามแต่ละใบที่เขาปั้น
เขากล่าวย้ำว่า เคล็ดลับในการที่จะปั้นชามที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดนั้น จุดสำคัญอยู่ที่ว่า ต้องรู้ว่า ไปที่เอาชามนั้นแรงขนาดไหนจึงจะพอดี
นอกจากนั้น ชามที่ อะระคะวะ ปั้นยังจะต้องสวยงามแบบธรรมชาติ โดยไม่มีการแต่งเติมใดๆซึ่งก็คือ การที่เขาเน้นความเป็นธรรมชาติของดินเหนียวที่ใช้ และชามที่เผานั้น ใช้วิธีเผาด้วยไฟแบบธรรมชาติซึ่งก็คือ การใช้ฟืน ดังนั้น เพียงแค่ 2 มือที่เต็มไปด้วยพลังจิตที่เขามีต่องานที่เขาทำ
ไม่ว่าชามที่จะออกมาจะเป็นรูปบูดเบี้ยวก็ตาม เขาบอกว่านั่นคือ เสน่ห์พิเศษของชามของเขา
จึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นชามรูปร่างแปลกๆในพิธีดื่มน้ำชาของญี่ปุ่น ยิ่งมีรูปร่างพิสดารเท่าไร
นั่นย่อมสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตจิตใจที่แท้จริงของผู้ปั้นที่ได้ทุ่มเททั้งกายและใจ เพียงเพื่อจะสร้างชามที่ไม่มีชีวิตให้มีชีวิตจิตใจเป็นที่ประทับใจและสบายใจแก่ผู้ใช้ชามแต่ละใบของอะระคะวะ ถ้าขายที่อเมริกาจะตกใบละ หลายพันเหรียญขึ้นไป
——
ขออนุญาตนำเอาข้อคิดเห็นนักเขียนซีไรท์ ศิลปินแห่งชาติสองสมัย คุณ วินทร์ เลียววารินทร์ มาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน
อ่านแล้วชอบมากครับกับปรัชญาการมองชีวิต โลก ศิลปะแบบนี้ สุดยอดครับ ผมชอบงานปั้นถ้วยชาม (แต่ทำไม่เคยได้เรื่อง) จึงชื่นชมคนที่ทำงานสายนี้ได้ในระดับนี้ ผมเคยไปร่วมพิธีชงชาดื่มชาที่เกียวโต ชอบมากครับ มันเป็นประสบการณ์ที่ฝังใจไม่เคยลืมไปจนตาย มันหลอมรวมศิลปะ เซน การมองโลก การเข้าใจธรรมชาติ ทุกอย่างเข้าด้วยกัน
ยอดเยี่ยมมาก