
วรรณกรรมญี่ปุ่น–เซเบ กับ น้ำเต้า (ตอนจบ)
ครูที่มาจากท้องถิ่นอื่นมีความรู้สึกไม่ชอบใจอยู่แล้วที่คนท้องถิ่น*5 แถวนี้ ให้ความสนใจกับน้ำเต้า ครูคนนี้เป็นผู้ชายที่ชอบพูดเรื่องเกี่ยวกับบุชิโด*6 ถ้าคุโมะเอะมง*7 มา ครูจะไปดูละครที่โรงละครที่สร้างแถวเมืองใหม่ ซึ่งปกติ คนมักจะเลี่ยงไม่แม้แต่จะเดินผ่าน ถ้ามีละคร 4 วัน ครูจะแวะไปดูเสีย 3 วัน ดังนั้น ถ้านักเรียนเอาเพลงที่ร้องในโรงละครมาร้องในสนามกีฬาครูก็จะไม่โกรธอะไรมากมาย แต่เรื่องน้ำเต้าเซเบ ทำให้ครูโกรธจนเสียงสั่นขนาดด่าเซเบว่า
เอ็ง นี่ ช่างเป็นเด็กที่ไม่มีอนาคตเสียเลย
นักเขียนนวนิยาย ชื่อ ชิงะ นะโอะยะ
ผู้เขียน เรื่อง เซเบ กับน้ำเต้า
แล้วครูก็ริบน้ำเต้าที่แสนรักแสนหวงของเซเบไป แต่เซเบกลับไม่ร้องไห้แม้แต่น้อย
เซเบกลับถึงบ้านด้วยหน้าตาที่ซีดเซียว เอาตัวซุกเข้าไปในโต๊ะโคะตะทซึ แล้วก็นั่งเหม่อลอย
ครูหอบหนังสือแวะไปหาพ่อเซเบที่บ้าน พ่อเซเบไม่อยู่ ออกไปธุระข้างนอก
ผมคิดว่าเรื่องนี้คงต้องให้ทางบ้านช่วยจัดการด้วยครับ
ครูพูดถึงเรื่องน้ำเต้าเซเบให้แม่ฟังด้วยความเดือดดาล แม่ก็ทำได้แค่เพียง
ขอโทษครูเท่านั้น
เซเบรู้สึกกลัวในความเคียดแค้นของครูขึ้นมาในทันที เซเบยืนตัวลีบปากสั่นอยู่ที่มุมห้อง ตรงเสาด้านหลังของครูมีน้ำเต้าที่เซเบขัดถูไว้อย่างดีแขวน อยู่เต็มไปหมด เซเบหายใจไม่ทั่วท้อง อดเป็นห่วงไม่ได้ว่า ครูอาจจะสังเกตเห็นน้ำเต้าที่เขาแขวนไว้ก็ได้
หลังจากที่ครูบ่นโน่นบ่นนี่แล้ว ครูก็กลับไปโดยไม่ทันสังเกตเห็นน้ำเต้าพวกนั้น เซเบรู้สึกโล่งอก
แม่เซเบเริ่มร้องไห้ แล้วก็เริ่มบ่นว่าเซเบ
ในไม่ช้าพ่อเซเบก็กลับจากที่ทำงาน พอพ่อฟังเรื่องจากแม่ จู่ๆพ่อก็คว้าตัวเซเบเข้าไปเสียใกล้ แล้วก็ชกต่อยเซเบอย่างแรง แม้แต่ที่บ้านเซเบก็ถูกหาว่าเป็น ไอ้เด็กไม่มีอนาคตลูกอย่างแก รีบๆไสหัวออกไปให้พ้นๆ
พ่อเซเบบังเอิญเหลือบไปเห็นน้ำเต้าที่แขวนอยู่ที่เสา พ่อเลยไปคว้าเอาค้อนอันใหญ่มา แล้วก็ทุบน้ำเต้าทีละลูกๆ จนแตกละเอียด เซเบได้แต่หน้าซีดและนิ่งเงียบ
แล้วครูก็เอาน้ำเต้าที่ริบจากเซเบไปให้คนแก่ที่เป็นภารโรงของโรงเรียน ราวกับว่าน้ำเต้านั้นเป็นของที่น่าขยะแขยงอะไรสักอย่างและสั่งให้เอาไปทิ้งเสีย ภารโรงเอาน้ำเต้านั้นกลับบ้าน แล้วแขวนไว้ที่เสาในห้องเล็กๆโกโรโกโสของเขา
เวลาผ่านไปประมาณสองเดือน พอดีภารโรงเกิดเดือดร้อนเรื่องเงินขึ้นมา ภารโรงเลยเกิดความคิดที่จะเอาน้ำเต้าของเซเบไปขาย จะขายได้ราคาเท่าไหร่ก็ได้ไม่เป็นไร ภารโรงจึงเอาน้ำเต้าไปให้ร้านขายของเก่าแถวบ้านดูร้านขายของเก่าดูน้ำเต้าอย่างถี่ถ้วน แล้วพูดใส่หน้าภารโรงด้วยท่าทีที่เย็นชาว่า
ถ้า 5 เยน*8
ก็จะรับซื้อเอาไว้
ภารโรงตกใจที่ได้ยินราคาน้ำเต้าแต่ภารโรงก็ฉลาดพอที่จะแกล้งทำหน้าเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แล้วตอบกลับไปว่า
ถ้าได้แค่ 5 เยนก็คงไม่ขาย
ร้านขายของเก่ารีบขึ้นราคาให้เป็น10 เยน*9 ทันที แต่ภารโรงก็ยังไม่ยอมขายในที่สุด ร้านขายของเก่าก็เลยต้องซื้อน้ำเต้าลูกนั้นจากภารโรงในราคา 50 เยน*10 ภารโรงแอบยิ้มกระหยิ่มใจด้วยความสะใจที่ขายน้ำเต้าที่ครูให้มาได้เงินประมาณ 4 เท่าของเงินเดือน
ภารโรงไม่ได้บอกเรื่องนี้กับครูและเซเบ และแกล้งทำเป็นไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับน้ำเต้านั้นดังนั้นจึงไม่มีใครล่วงรู้ถึงชะตากรรมของน้ำเต้าลูกนั้น
แต่ภารโรงหัวใสคงคิดไม่ถึงว่า ร้านขายของเก่าขายน้ำเต้าลูกนั้นให้กับเศรษฐีในท้องถิ่นไป ด้วยราคา ถึง600 เยน*11
ตอนนี้เซเบ กำลังเอาจริงเอาจังกับการวาดรูป ตอนที่เซเบเริ่มวาดรูป เซเบไม่ได้รู้สึกโกรธเกลียดครู หรือ โกรธพ่อที่ใช้ค้อนทุบน้ำเต้าแสนรักแสนหวงของเขาไปตั้งสิบกว่าลูก
อีกไม่นานหรอกที่พ่อเซเบคงจะเริ่มบ่นเกี่ยวกับเรื่องวาดรูปของเซเบอีก
ーー
*5 คนท้องถิ่น ในที่นี้ คือ เมืองโอะโนะมิทซิในจังหวัดฮิโรชิมะ เนื่องจากท้องถิ่นนี้ปลูกน้ำเต้าได้มาก และจากความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่ว่า น้ำเต้าเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม ช่วยปกป้องคุ้มครองจากภัยอันตราย และจากสิ่งชั่วร้าย
ได้ คนในท้องถิ่นจึงนิยมที่จะสะสมน้ำเต้า
*6 บุชิโด หมายถึง วิถีแห่งซามูไร หรือวิถีแห่งนักสู้ ที่ซามูไรทุกคนในสมัยนั้นต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ความจงรักภักดีความเสียสละ ความอดทน เป็นต้น
*7โททซููเคน คุโมะเอะมง (ค.ศ.1873-1916)เป็นศิลปินนักแสดงละคร ส่วนใหญ่เป็นละครเกี่ยวกับวิถีชีวิตของบรรดาซามูไร
*8ห้า เยน ในสมัยนั้นจะเป็นเงินประมาณ 7,500 เยน (ปัจจุบันคิดเป็นเงินไทยประมาณ 2,850 บาท )
*9สิบ เยน ในสมัยนั้นจะเป็นเงินประมาณ 15,000 เยน (ปัจจุบันคิดเป็นเงินไทยประมาณ 5,700 บาท)
*10ห้าสิบ เยน ในสมัยนั้นจะเป็นเงินประมาณ 75,000 เยน (ปัจจุบันคิดเป็นเงินไทยประมาณ 28,500 บาท)
*11หกร้อยเยนในสมัยนั้นจะเป็นเงินประมาณ 900,000 เยน (ปัจจุบัน คิดเป็นเงินไทยประมาณ 342,000 บาท)
(จบ)
One thought on “วรรณกรรมญี่ปุ่น–เซเบ กับ น้ำเต้า (ตอนจบ)”
น้ำเต้าอาจจะเป็นเพียงน้ำเต้าที่ไม่มีค่า
หนังสือ ก็อาจจะเป็นเพียงหนังสือที่ไม่มีค่า
แต่มีค่าหรือไม่มีค่า อยู่ที่ว่า ของนั้นๆ
ตกอยู่ในมือของใครมากกว่า